top of page

การเลือกใช้เหล็กเส้น SD30 SD40 SD50 SD30T SD40T SD50T SD40S SD50S เลือกใช้เหล็กข้ออ้อยเกรดไหนดี ?

  • Writer: LDA
    LDA
  • Apr 4
  • 2 min read

Updated: Apr 8


การเลือกใช้เหล็กเส้น SD30 SD40 SD50 SD30T SD40T SD50T SD40S SD50S
โฆษณาเหล็กข้ออ้อยเกรด SD40S SD50S ของ TATA Steel

มาตรฐานเหล็กเส้นงานก่อสร้างในประเทศไทยใช้ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ มอก. ที่กำหนดโดย สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ( Thai Industrial Standards Institute หรือ TISI ) โดยมาตรฐานเหล็กเส้นงานก่อสร้าง มีอยู่ 2 มาตราฐาน คือ มาตราฐานเหล็กเส้นกลม และ มาตรฐานเหล็กข้ออ้อย


เหล็กข้ออ้อย ต้องมีคุณสมบัติตาม มอก.24-2559 เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต : เหล็กข้ออ้อย

โดยสามารถเข้าดูได้ลิ้งของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม https://www.tisi.go.th/data/standard/fulltext/TIS-24-2559p.pdf

ทั้งนี้ มอก.24-2559 กำหนดให้เหล็กเส้นข้ออ้อยมี 3 ชั้นคุณภาพ หรือ 3 เกรด คือ SD30, SD40, SD50

โดยที่ SD30, SD40, SD50 หมายถึง Standard Deformed Bar ที่มีความต้านทานแรงดีง ณ จุดคราก ( Yield Strenght ) ไม่ต่ำกว่า 30, 40 และ 50 กก./ตร.มม ตามลำดับ

และถ้าจะให้เข้าใจได้ง่ายก็คือ

เหล็กข้ออ้อยเกรด SD30 รับน้ำหนักได้ 3,000 กิโลกรัม ต่อ ตารางเซนติเมตร

เหล็กข้ออ้อยเกรด SD40 รับน้ำหนักได้ 4,000 กิโลกรัม ต่อ ตารางเซนติเมตร

เหล็กข้ออ้อยเกรด SD50 รับน้ำหนักได้ 5,000 กิโลกรัม ต่อ ตารางเซนติเมตร


แล้ว การเลือกใช้เหล็กเส้น SD30 SD40 SD50 SD30T SD40T SD50T SD40S SD50S เลือกใช้เหล็กข้ออ้อยเกรดไหนดี ?


ควรเลือกใช้งานเหล็กเส้นให้เหมาะกับประเภทการใช้งาน และเลือกเหล็กเส้นที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และต้องช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ที่สำคัญคือจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัย การรับแรง และต้องเป็นไปตามแบบก่อสร้าง

  • เหล็กเส้นกลม SR24 ขนาด 6 และ 9 มม. มักนิยมนำมาใช้ทำเหล็กปลอก สำหรับรัดโครงเหล็กในงานเสา คาน บันได และพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก

  • เหล็กข้ออ้อย SD40 ขนาด 12 และ 16 มม. นิยมนำมาใช้ก่อสร้างบ้าน และอาคารทั่วๆไป หากเป็นตัวบ้านและอาคารไม่สูงมาก รวมถึงใช้ในงานสะพานขนาดเล็ก ถนน กำแพงคอนกรีตสำเร็จ

  • เหล็กข้ออ้อย SD40 , SD50 ขนาด 20 และ 25 มม. นิยมนำมาใช้ในงานอาคารสูง คอนโดมิเนียม ยิ่งเป็นอาคารสูงที่มากขึ้นการเลือกใช้ SD50 ก็จะช่วยประหยัดกว่า SD40 เพราะรับแรงได้มากขึ้นแต่ใช้จำนวนน้อยลง

  • เหล็กข้ออ้อย SD50 ขนาด 28 และ 32 มม. ใช้ในงานโครงสร้างขนาดใหญ่ เช่น ตึกสูงมากๆ งานตอม่อถนน สะพาน โครงสร้างสถานีรถไฟฟ้า สนามบิน เป็นต้น

  • เหล็กข้ออ้อย SD50 ขนาด 40 มม. ใช้ในงานที่ต้องการความแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ และต้องการรับแรงค่อนข้างมาก เช่น การก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ โครงสร้างรถไฟใต้ดิน เป็นต้น


การใช้เหล็กเส้นเกรด SD50 อาจทำให้ใช้งานเหล็กเส้นในโครงการลดลงได้มากสุดถึง 20% ( ขึ้นอยู่กับจำนวนการใช้และการออกแบบ ) เนื่องจาก SD50 เป็นเกรดเหล็กข้ออ้อยที่สามารถรับแรงดึงได้สูงที่สุด จึงทำให้ใช้เหล็กเส้นในจำนวนที่น้อยลง แต่ยังคงมีความแข็งแรงได้เหมือนเดิม

อย่างไรก็ตามการเลือกใช้เกรด SD30 หรือ SD40 หรือ SD50 นั้น จะเป็นหน้าที่ของวิศวกรผู้ออกแบบเป็นผู้กำหนด ถ้าเจ้าของโครงการต้องการเลือกใช้เหล็กที่มีกำลังสูงขี้น เช่น SD50 ซึ่งคาดว่าจะลดต้นทุนการก่อสร้างลงได้ ก็จำเป็นที่จะต้องแจ้งวิศวกรผู้ออกแบบล่วงหน้า เพื่อที่วิศวกรจะได้ใช้เหล็กเส้นเกรด SD50 ในการคำนวนเพื่อทำการออกแบบงานโครงสร้างต่อไป


สำหรับ SD30T SD40T SD50T นั้น ตัวอักษร T ที่ต่อท้ายจะหมายถึงเหล็กข้ออ้อยที่ผ่านกรรมวิธี Heat Treatment Rebar หรือ การนำเหล็กมาทำให้เย็นลงด้วยการสเปร์ยพ่นน้ำ แทนที่จะปล่อยให้เหล็กเย็นตัวลงเอง โดยทั่วไปเกรดที่มี T หรือไม่มี T สามารถใช้งานได้เกือบเหมือนกัน เพียงแต่จะมีความแตกต่างกันในเชิงลึกที่ผู้อ่านสามารถหาอ่านเพิ่มในบทความต่อไปของ LDA ได้


ปัจจุบันผู้ผลิตอย่าง TATA Steel ได้ผลิตเหล็กข้ออ้อยเกรด SD40S และ SD50S โดยตัวอักษรตัว S ที่เพิ่มเข้าไปนั้น TATA Steel เรียกว่าเป็นเหล็ก Super Ductile ซึ่งได้แจ้งว่าจะมีคุณสมบัติที่เหนือกว่าเหล็กข้ออ้อยทั่วไป 4 ข้อ คือ

1.ดัดง่ายกว่า ด้วยเนื้อเหล็กที่เหนียวมากกว่าเหล็กเส้นทั่วไปถึง 20% ช่วยให้ตัดโค้งได้มากกว่าโดยไม่แตกร้าว ซึ่งเป็นต้นเหตุของโครงสร้างที่ไม่แข็งแรง

2.มีการยืดตัวที่ดีกว่า ทำให้การส่งผ่านแรงในเหล็กมีความสม่ำเสมอกว่าเหนือกว่าเหล็กทั่วไป โครงการก่อสร้างที่ใช้เหล็กเหนียวพิเศษ จะยืดตัวได้มากกว่าโครงสร้างที่ใช้เหล็กทั่วไปกว่า 15%

3. รับพลังงานได้มากกว่า พลังงานที่จะทำให้โครงสร้างพังทลายได้ เช่น จากแผ่นดินไหว พายุ น้ำท่วม เป็นต้น โครงสร้างที่ใช้เหล็กเหนียวพิเศษจะรับพลังงานได้มากกว่าโครงสร้างที่ใช้เหล็กทั่วไปกว่า 25%

4.เทียบเท่ามาตรฐานต่างประเทศ ควบคุมคุณสมบัติให้สอดคล้องกับเหล็กเส้นเหนียวพิเศษ เพื่อให้ได้ตามมาตรฐานสากล เช่น BS (อังกฤษ), SS (สิงคโปร์), EC2 (ยุโรป)  และ ASTM (สหรัฐอเมริกา)

ทั้งนี้ก็เช่นกันถ้าเจ้าของโครงการต้องการจะเลือกใช้ SD40S SD50S ก็ควรที่จะต้องแจ้งวิศวกรผู้ออกแบบล่วงหน้า เพื่อที่วิศวกรจะได้ใช้คุณสมบัติของมันในการคำนวนเพื่อทำการออกแบบงานโครงสร้างต่อไป




Comments


bottom of page