เครื่องหมาย "ที" บนเหล็กเส้น เหล็กเส้น T และ เหล็กเส้น Non-T
- LDA
- 6 days ago
- 1 min read
เครื่องหมาย "ที" บนเหล็กเส้น เหล็กเส้น T และ เหล็กเส้น Non-T คือ อะไร ?
เครื่องหมาย "T" บนเหล็กเส้นจะมีเฉพาะเหล็กเส้นข้ออ้อยเท่านั้น ไม่มีบนเหล็กเส้นกลม
เหล็กเส้นที หรือ เหล็กเส้นข้ออ้อยที หรือ เหล็กข้ออ้อยที่มีเครื่องหมาย " T " ( ที ) ประทับนูนบนเส้นเหล็ก ซึ่งเครื่องหมาย T อาจประทับต่อท้ายเกรดของเหล็กเส้น เช่น SD40T ( T ต่อท้าย SD40 ) หรือประทับเครื่องหมาย T แยกออกมาโดดๆก็ตาม เครื่องหมาย T บนเหล็กเส้นนั้นจะหมายถึงเหล็กข้ออ้อยที่ผ่านกรรมวิธี Heat Treatment Rebar หรือ การนำเหล็กมาทำให้เย็นลงด้วยการสเปร์ยพ่นน้ำ แทนที่จะปล่อยให้เหล็กเย็นตัวลงเอง วิธีการนี้จะทำให้ที่ผิวของเหล็กด้านนอกแข็งกว่าด้านใน และทำให้มีการต้องเติมธาตุผสมคือ Carbon และ Manganese น้อยกว่าปกติ
สำหรับเหล็กเส้นที่ไม่มีเครื่องหมาย T ( ที ) อาจเรียกว่า เหล็กเส้น Non-T หรือ เหล็กไม่มีตัว T
ข้อดี ข้อเสีย ข้อแตกต่าง ข้อควรระวัง ของเหล็กเส้นที่มีเครื่องหมาย T และ Non-T
เหล็กข้ออ้อย T มีคุณสมบัติทางกล คือ กำลังดึง ความยืด และการดัดโค้ง ไม่แตกต่างจากเหล็กข้ออ้อย Non-T เนื่องจากผ่านคุณสมบัติทางกลตามมาตรฐานที่ มอก.กำหนดไว้เหมือนกัน
เนื่องจากเหล็กข้ออ้อย T ผิวมีความแข็งกว่าด้านใน จึงควรหลีกเลี่ยงการกลึง หรือลดขนาดเหล็กอย่างมากก่อนนําไปใชงาน
เหล็กข้ออ้อย T สามารถนำมาต่อกันด้วยวิธีการเชื่อม( Welding )ได้ง่ายกว่า ( วสท. กำหนดให้เหล็กที่ใหญ่กว่า 36 มม. ต้องต่อกันด้วยวิธีเชื่อม ( Welding )หรือใช้ข้อต่อทางกล ( Mechanical coupler ) เท่านั้น ห้ามทาบ ) เนื่องจากมีธาตุผสมน้อยกว่า ทั้งนี้ควรมีการบ่มทั้งก่อนและหลังเชื่อมเพื่อป้องกันการเกิดรอยร้าวที่จุดเชื่อมด้วย
เหล็กข้ออ้อย T สามารถนำมาต่อกันด้วยวิธีการใช้ข้อต่อทางกล ( Mechanical coupler ) ได้ดีเหมือนกันกับเหล็กข้ออ้อยไม่มี T ถ้าใช้วิธีการคำนวนเพื่อระยะเกลียวที่สั้นที่สุดเพื่อความแข็งแรง หรือใช้ระบบ Soft cold forging
เหล็กข้ออ้อย T และเหล็กข้ออ้อยไม่มี T มีความทนทานต่อไฟไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
เหล็กข้ออ้อย Non-T มีคุณสมบัติทนต่อความล้า ( Fatigue ) ได้ดีกว่าเหล็กข้ออ้อย T จึงทำให้เหมาะสำหรับงานโครงสร้างที่ต้องรับแรงซ้ำๆไปมา เช่น งานถนน งานสะพาน
ปัจจุบันการก่อสร้างหน่วยงานราชการอนุญาตให้ใช้เหล็กที่มีเครื่องหมาย T ยกเว้นกรมทางหลาง เนื่องจากกรมทางหลวงกังวลว่าเหล็กที่มีการทำ Heat Treatment Rebar จะมีการล้า ( Fatigue ) ซึ่งอาจจะมีผลต่องานก่อสร้างถนน งานสะพาน และงานเขื่อน

Kommentare